บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Technology

การเริ่มต้นใช้งาน Google Classroom : บทที่ 2 การเพิ่มครูร่วมในกลุ่มห้อง

รูปภาพ
ในบทความนี้ครูโจโจ้จะมาแชร์วิธีการเชิญเพื่อนครูเข้ามาอยู่ในห้อง Google Classroom ด้วยกัน เพื่อช่วยดูแลห้องด้วยกัน ในกรณีที่ทำกลุ่มห้องประจำชั้นเพื่อมีประจำชั้นหลัก กับ ประจำชั้นร่วม หรือกระบวนวิชาที่มีครูผู้สอนร่วมกัน เป็นต้น โดยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ครับ  (สามารถเข้าดู Slides ได้จาก link  https://bit.ly/3dZIdUU ) นอกจากนี้ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อช่วยเหลือเพื่อนครูที่ไม่ค่อยถนัดกับเรื่องเทคโนโลยีได้ โดยการสร้างห้องให้ จากนั้นเราก็เชิญเพื่อนครูเข้ามา แล้วเราค่อยออกจากห้องได้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะใช้เพื่อช่วยเหลือเพื่อนครูในกรณีที่สร้างห้องไม่เป็น นอกจากนั้นเราสามารถเพิ่มนักเรียนที่ตกหล่นด้วยวิธีนี้ได้เช่นกัน โดยไปที่ Students แทนครับ  ครูโจโจ้

การเริ่มต้นใช้งาน Google Classroom : บทที่ 1 การสร้างห้องใหม่และให้นักเรียนเข้าห้อง

รูปภาพ
บทที่ 1 การสร้างห้องใหม่ ใน Google Classroom สามารถดู Slides จาก link นี้  https://bit.ly/34dcif2   ครูโจโจ้

OBS ปัญหาที่พบใน Windows 10 คือ จอมืด! (black screen) แต่แก้ไขได้

รูปภาพ
เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่เป็น pandemic ไปทั่วทั้งโลก ประเทศไทยของเราเองก็ได้รับผลกระทบจนต้อง lockdown ประเทศ ให้ทุกๆ คน work from home ซึ่งรวมถึงการศึกษาทั้งในโรงเรียน และ สถาบันกวดวิชาด้วย และก็มีแนวโน้มว่าการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษาใหม่ที่จะถึงนี้อาจจะเลื่อนไปอีก เป็นไปได้ว่า ครูก็อาจจะต้องเตรียมการสอนแบบ online ในรูปแบบต่างๆ OBS เป็นอีกโปรแกรมที่ครูโจโจ้เห็นว่านำมาใช้เพื่อการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ OBS นั้นเป็นโปรแกรมที่เกมเมอร์หลายคนรู้จัก เพราะเป็นฟรีโปรแกรมที่ใช้ stream เกมใช้ได้ดีในระดับหนึ่งเลย ครูโจโจ้จึงเห็นว่าครูผู้สอนสามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ โดยทำได้ทั้งแบบสอนสด (live) หรือ อัดเป็นวิดีโอก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเน้นสอนแบบบรรยายมากกว่า เพราะเราไม่สามารถเห็นหน้านักเรียนได้เหมือนกับโปรแกรม Zoom แต่อย่างไรก็ดีพอครูโจโจ้ติดตั้งโปรแกรมนี้แล้วกับพบปัญหา คือสำคัญมากที่จะอัดคลิปจากหน้าจอคอมพ์ของเรา แต่ปรากฏว่าโปรแกรมแสดงผลเป็นจอมืด ดำสนิท ครูโจโจ้ก็งมอยู่หลายวันมากครับ ค้นหาวิธีแก้ปัญหา ก็ว่ามีคนบอกว่า OBS นั้นมีปัญหากับ Wind

รีวิว Applications ที่ดีต่อการใช้จดบันทึกกับปากกา

รูปภาพ
ด้วยความที่ปกติใช้ Samsung ที่มีปากกามาตลอด และ Samsung เองก็มี app ที่เอาไว้เขียนอยู่แล้ว เลยไม่เคยใช้ app อื่นเลย พอครั้งนี้เปลี่ยนมาใช้ Huawei ก็เลยต้องหา app มาเขียนกับปากกา (app ของ Huawei ไม่ work เลย) ก็พบ 3 apps ดังต่อไปนี้ 1. LectureNotes ต้องยกให้เป็นอันดับหนึ่งเลยเพราะลูกเล่นเพียบจริงๆ อย่างแรกคือเราสามารถสร้างปกได้หลากสีตามที่ต้องการ รวมถึงสีของแผ่นกระดาษ ซึ่งบางทีอาจจะยุ่งยากไปสำหรับคนที่เร่งรีบ ซึ่งตัว app เองก็จะมีให้เลือกนั่นก็คือ Quick notes เพื่อให้เราใช้จดก่อนแล้วค่อยแก้ไขปกหรือลายเส้นกระดาษทีหลังได้ สามารถสร้าง folder เพื่อจัดกลุ่มสมุดของเราได้ นำเข้าและส่งออกเป็น PDF ได้ โดยที่ราคาแบบ Pro จะอยู่ที่ราคา 225 บาท คือครบครันเรื่องการเขียน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัว app ยังมี extensions เสริมหากผู้ใช้ต้องการลูกเล่นเพิ่มอย่างเช่น LecturePresentations เพื่อ screecast นำเสนอการ lecture ของเรา (ราคา 53 บาท) LectureVideos ก็เอาไว้บันทึกการ lecture และเสียงของเรา (ราคา 71.00) ซึ่งแนะนำว่าถ้าหากมี app บันทึกหน้าจออยู่แล้วก็ไม่จำเป็น และ LectureRecodings เพื่ออัดเสียงเราในขณ

YouTube Kids ที่ผู้ปกครองควรโหลดไว้ให้ลูกหลาน

รูปภาพ
YouTube Kids เป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อชมวิดิโอที่พัฒนาจาก YouTube ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่สร้างขึ้นสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะ ด้วยการคัดเลือกวิดีโอที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของหนูๆ 1. ขั้นตอนแรก ติดตั้งจาก Google Play ในระบบ Android หรือ App Stores ใน iOS 2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วและเข้าไปที่แอพจะมีข้อความต้อนรับเราแบบนี้ ให้ไป GET STARTED (แปล) ยินดีต้อนรับสู่ YouTube Kids! ให้ผู้ปกครองปลดล็อคแอพนี้ สวัสดีคุณผู้ปกครอง ก่อนที่ลูกหลานของท่านจะเริ่มการใช้งาน มีกระบวนการนิดหน่อยที่เราต้องการให้ท่านรู้เกี่ยวกับแอพนี้ และ การตั้งค่าบางอย่างสำหรับท่าน 3. ระบบจะให้เรากรอกปีเกิดของผู้ปกครอง (เป็น ค.ศ. ถ้าใครจำไม่ได้ให้นำปี พ.ศ.ที่เกิด แล้วลบด้วย 543) (แปล) สวัสดีท่านผู้ปกครอง ระบุปีที่ท่านเกิด กระบวนการนี่แค่เพื่อระบุอายุของท่าน ซึ่งไม่ได้เก็บไว้เป็นข้อมูล 4. จากนั้นก็จะก็จะเป็นหน้าคำอธิบายเรื่องการบล็อคและการรายงาน (Blocking & reporting) (แปล) การบล็อคและการรายงาน เราทำงานอย่างเต็มที่เพื่อนำเสนอสิ่งที่ปลอดภัยต่อประสบการณ์ใช้ YouTube แต่ไม่มีระบบอัตโนมัติใดๆ ที่สมบูรณ์ ถ้

Update! Fonts ภาษาไทยใหม่ ใน Google Docs

รูปภาพ
จากบทความก่อนหน้านี้ที่เคยนำเสนอเรื่อง "ฟอนต์ภาษาไทยใน Google Docs"  ( https://krujojotalk.blogspot.com/2018/04/google-docs.html ) และบทความนี้ Update! ฟอนต์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งก่อนหน้านี้ครูโจโจ้เคยแสดงความคิดเห็นว่าฟอนต์ ไตรรงค์ (Trirong) มีความคล้ายฟอนต์ไทยสารบัญ (TH Sarabun) ที่สุด แต่ล่าสุดมีที่ใกล้เคียงกว่า เรามาดูกันครับว่าฟอนต์ไหน และมีฟอนต์อะไรบ้าง ฟอนต์ใหม่ที่เพิ่มมามีชื่อดังนี้ Bai Jamjuree (ใบจามจุรี) Chakra Petch (จักรเพชร) Charm (ชาร์ม) Charmonman  (จามรมาน) Fahkwang (ฟ้ากว้าง) K2D  KoHo  Krub (ครับ) Mali (มะลิ) Niramit (นิรมิตร) *Sarabun (สารบัญ) Srisakdi (ศรีศักดิ์) Thasadith (ธ สถิต) เราลองมาดูหน้าตาของฟอนต์เหล่านี้กันครับ *หมายเหตุ   ฟอนต์ Sarabun ของ Google ยังพบปัญหา คือ ไม่สามารถเพิ่มลงในระบบได้ (แม้เราจะกดเพิ่มไปแล้วก็ตาม) ดังนั้นฟอนต์จึงเป็นลักษณะค่าตั้งต้นคือ Arial  อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราเข้าไปดู Docs ผ่าน application ของระบบ Android พบว่าฟอนต์แสดงผลเหมือนกับ TH Sarabun ในระบบของ Microsoft Office เลยทีเดียว ดูได