บันทึกบทสนทนาในหัวข้อ แนวทางการจัดการ Distance Learning ในประเทศจีนทำอย่างไร

ครูแหม่ม ครูหยาง และ ครูโจโจ้ ที่เซียเหมิน ฝุเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับครูหยาง ซึ่งเป็นครูสอนภาษาจีน เรื่องแนวทางการจัดการ Distance Learning ในประเทศจีนทำอย่างไรบ้าง

ครูหยางเล่าว่าสำหรับเด็กเล็กจะเรียนผ่านโทรทัศน์เลย เพราะว่าประเทศจีนใช้หนังสือเรียนเหมือนกันทั้งประเทศ จึงเป็นการง่ายที่ส่วนกลางทำสื่อการสอนผ่านโทรทัศน์ แล้วให้ผู้ปกครองดูด้วยเพื่อควบคุม

ส่วนระดับโตขึ้นมาอย่างเช่น มัธยมปลายทเขาใช้โปรแกรม DingTalk ที่คล้ายๆ กับ Google Classroom (แต่รายละเอียดลูกเล่นนี่ไม่ทราบ) สำหรับการเรียนการสอนอยู่บ้าน ส่วนเด็กเล็กจะไม่ใช้เพราะเขาไม่สามารถนั่งนิ่งๆ อยู่หน้าจอนานๆ ได้

ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งคือการสอบ ครูจีนจะให้นักเรียนทำข้อสอบเหมือนกับการสอบในห้องเรียน แต่ให้ใช้ระบบวิดีโอประชุมนักเรียนทุกคนให้ตั้งกล้อง ให้เห็นหน้า เห็นข้อสอบ แล้วทำพร้อมกัน โดยครูจะจ้องดูนักเรียนทำข้อสอบผ่านจอ เพื่อดูว่านักเรียนมีการใช้สายตาไปในทางทุจริตหรือเปล่า ครูหยางบอกว่านักเรียนก็ต้องมองที่กล้องหรือข้อสอบ ถ้ามองไปในทางอื่นก็ส่อทุจริตละ

เอ้อ ฟังอันนี้แล้วก็ได้ไอเดียว่ามันง่ายดีนะ เรามองข้ามไปได้ไง แต่ก็มีคำถามว่าแล้วครูเขาแจกเอกสารให้นักเรียนยังไง ปริ้นเอาท์เอง หรือว่าส่งไปรษณีย์ ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ครูหยางจะกลับไปถามเพื่อนอีกที

ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาคือเรื่องของรายได้ของครอบครัวทำยังไงเมื่อต้องอยู่บ้าน รัฐมีการจัดการอย่างไร อันนี้มีรายละเอียดพอสมควร ขอยกไว้ครั้งหน้า แต่ครูหยางพูดมาว่าคนจีน 100% มีเงินเก็บ ก็ไม่แน่ใจว่าเก็บอย่างไร จึงขอคุยอีกรอบแล้วมาเล่าต่อให้ฟังครั้งหน้าครับ

------

เพิ่มเติม วันที่ 10 พ.ค. 2563

ครุหยางได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ครูจะเอาข้อสอบไว้ในเน็ต นักเรียนปริ้นออกมาเขียนแล้วให้ผู้ปกครองถ่ายรูปให้ครู ถ้านักเรียนไม่มีเครื่องปริ้น ก็เขียนคำตอบออกมาถ่ายรูปส่งครูด้วย" มากไปกว่านั้น ในแต่ละมณฑลก็จะมีอิสระที่จะใช้ app ในการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น มณฑลนี้ใช้ DingTalk อีกมณฑลหนึ่งอาจจะใช้ QQ เป็นต้น รวมถึงนโยบายการศึกษาที่สนับสนุนให้นักเรียนเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน เรียนฟรี 6 ปี ถ้าจะเรียนข้ามเขตต้องเสียเงินเป็นค่าเรียนข้ามเขต (ดังนั้นคนส่วนมาจึงเรียนใกล้บ้านดีกว่า) การจัดการจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า อีกทั้งระบบการเผยแพร่การสอนผ่านโทรทัศน์นั้นก็มีแบบแบ่งเป็นมณฑลเช่นกัน  

ส่วนประเด็นเรื่องของผู้ปกครองที่ต้องดำรงชีพอย่างไรเมื่อประเทศต้อง lockdown ครูหยางได้ขยายความว่า "คนจีนแต่ละคนได้เงินมาต้องเก็บบางส่วนไว้อยู่แล้วค่ะ ถ้าเจอเหตุการณ์ที่ต่องอยู่บ้านก็เอาเงินที่ตัวเองเก็บเอาไปใช้ ถ้าคนไหนติดเชื้อ รัฐบาลจะจ่ายทุกอย่าง รวมข้าวสามมื้อ" ซึ่งเป็นนโยบายรัฐสังคมนิยมที่ให้หักรายได้แต่จะกลายเป็นเงินสวัสดิการ หรือ เงินเก็บยามเกษียณ หรือ ฉุกเฉินเช่นนี้ ก็นับว่าเป็นการจัดการที่ดีตั้งแต่เนิ่นๆ มีระบบการหักเงินเพื่อเป็นเงินออมในยามฉุกเฉินเช่นนี้ ผู้ปกครองจีงสามารถให้ความร่วมมือในการดูแลบุตรหลานที่บ้านกับทางสถาบันการศึกษาได้เป็นอย่างดีนั่นเองครับ  
ครูโจโจ้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Sport Day หรือ Sports Day?

Organizing : Topic, Supporting และ Concluding Sentences

Special Days in Thailand : วันหยุดของไทย ภาษาอังกฤษ