บทความ

How do you find .... ? ความหมายไม่เหมือนกับ How can you find .... ?

รูปภาพ
สำนวน How do you find (something) ? ถ้าฟังผ่านๆ อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าถามว่าเราเจอได้อย่างไร แต่ความจริงเขาไม่ได้ถ่ฝามเรื่องนั้นครับ เพราะ  How do you find .... ? เป็นการถามความคิดเห็นคล้าย ๆ กับ How do you feel about .......? หรือ "What do you think of ....?" ในภาพนี้ถามว่า How did you find your steak? ถ้าแปลตรงๆ คือ "คุณรู้สึกอย่างไรกับสเต็กของคุณ?" เมื่อแปลตามบริบทคือ "รสชาติสเต็กที่คุณสั่งเป็นอย่างไรบ้างคะ?" แต่ลูกค้าไม่ได้ตอบตรงคำถาม คือคิดว่าเขาถามหาเจอสเต็กได้ยังไง เลยบอกตำแหน่งว่าเนื้อมันก็อยู่ถัดจากมันฝรั่งนี้ไง (ฮา) "I just looked next to the potatoes and there it was" = "ฉันแค่มองถัดไปต่อมันฝรั่งและมันอยู่ตรงนั้นไง" อ้าว แล้วแบบนี้จะเข้าใจได้ยังไงล่ะว่าอันไหนถามความรู้สึก อันไหนถามหาของเจอ ถ้าจะถามว่า คุณเจอมันได้อย่างไร ใช้ How can you find it?  สังเกตเห็นว่าใช้ can = สามารถ can find = สามารถหาเจอ แต่ถ้าถามความรู้สึกจะใช้ How do you find it? เน้นๆ ที่เสียง do เลยครับ แสดงว่าเขาถามความคิดเห็นครับ สรุป How do you find? ≠ How ca

Tony Woodsome เปิดเว็บไซต์ใหม่!

รูปภาพ
ภาพจากเว็บไซต์  https://www.thaksinofficial.com/ เปิดเว็บไซต์ใหม่ของ Tony Woodsome หรือ  ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ในชื่อ  Thaksin Official โดยการร่วมมือกันของลูกทั้ง 3 คน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นของขวัญวันเกิดให้คุณพ่อเนื่องในโอกาสอายุ 72 ปี และเพื่อแบ่งปันแนวคิด มุมมอง จากประสบการณ์ของคุณพ่อให้กับสังคม ช่วงนี้คุณ Tony Woodsome กำลังดังเลยทีเดียว เนื่องจากมีผู้ติดตามฟังการพูดแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองผ่านแอพพลิเคชั่น Clubhouse เป็นจำนวนล้นหลาม และยังถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของเพจ CARE คิด เคลื่อน ไทย  และ ก่อนหน้านั้น ดร.ทักษิณ ก็เคยทำ Podcast ที่มีชื่อรายการว่า Good Monday เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ ทั้งเรื่องการเมือง เทคโนโลยี และ เศรษฐกิจโลก โดยชื่อ Tony Woodsome ปรากฏเป็นครั้งแรกผ่าน Clubhouse คืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2021 ในห้องที่มีผู้ใช้ตั้งชื่อว่า  "ไทยรักไทย ใครเกิดทัน มากองกันตรงเน้!"   ซึ่ง ดร.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ในเวลาต่อมาว่า Tony เป็นชื่อสมัยที่เรียน ปริญญาโท-เอกในสหรัฐอเมริกา   ภายในเว็บไซต์จะประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาดังต่อไปนี้ Ideas for Futu

พักก่อน! เลิกใช้ LINE ในที่ทำงานเถอะ บอส!!

รูปภาพ
นับว่าเป็นวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีในการทำงานที่แปลก สำหรับหลาย ๆ หน่วยงานในบ้านเราที่ใช้ LINE เป็นแอพในการทำงานเป็นหลัก ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อการทำงานแต่อย่างใด    เนื่องจาก LINE เป็น application ที่ญี่ปุ่นซื้อมาจาก Naver Coperation ของเกาหลี ครูโจโจ้เคยถามเพื่อนครูที่เป็นชาวญี่ปุ่นหลายคน ไม่พบว่ามีใครใช้ LINE ในการทำงานครับ คนญี่ปุ่นจะใช้หลังจากเลิกงานเพื่อคุยกับเพื่อน นัดกันกินข้าว เรื่องส่วนตัวมากกว่า ครูโจโจ้เองก็พยายามให้องค์กรใช้ email ในการทำงานและหลีกเลี่ยงการใช้ LINE ให้มากที่สุด เพราะตัวแอพไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการทำงานเป็นจริงเป็นจังขนาดนั้นและมันทำให้การทำงานของตัวเราไม่ "Professional"  มากไปกว่านั้นครูโจโจ้อยาก ให้ LINE เป็นพื้นที่ส่วนตัว ตามวัตถุประสงค์ของมัน ใช้เพื่อคุยกับเพื่อน และ ครอบครัว ไม่อยากให้คนในองค์กรรู้สึกว่ามันคือแอพที่ใช้ทำงานครับ จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้ครูโจโจ้เคยเขียนบทความหัวข้อ "การใช้ LINE เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ" แต่ก็ค้นพบว่า 1. ผู้ใช้ไม่มีทักษะและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน 2. แอพสามารถใช้ในการทำงานได้

การตั้งค่าให้ผู้สร้าง Google Forms รู้ว่ามีคนตอบและส่งฟอร์มที่เราทำขึ้น

รูปภาพ
มีคำถามจากคอมเมนต์ใน Kru JOJO Talk Channel นะครับ "ฟอร์มนั้น ๆ มีคนตอบและส่งกลับมาแล้ว ผู้สร้างจะได้รับเมลกลับอย่างไร ถึงจะรู่ว่ามีใครส่งกลับบมา" ครูโจโจ้จึงขอใช้พื้นที่นี้มาบอกวิธีในการตั้งค่าเพื่อให้ผู้สร้าง Forms รู้ว่ามีคนตอบอย่างไรครับ ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอนครับ ดังนี้ 1. เข้าไปที่ Google Forms จากนั้นเลือก Forms ที่เราต้องการจะให้แจ้งเตือน โดยที่หน้าแรกให้เลือกไปที่ "การตอบกลับ"  2. เมื่ออยู่ที่หน้าการตอบกลับ ให้เลือกไปที่จุด 3 จุด 3. จากนั้นให้เลือก "รับแจ้งเตือนทางอีเมลเมื่อมีคำตอบใหม่"  4. สังเกตข้อความแสดงขึ้นมาด้านมุมล่างซ้าย "เปิดการแจ้งเตือนทางอีเมลแล้ว" เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ หลังจากนั้นถ้ามีคนตอบรับฟอร์มที่เราสร้างขึ้น ก็จะได้รับแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลที่เราใช้สร้าง Google Forms นั้น ๆ ครับ  ครูโจโจ้ *************************************** 🧡 ฝากกด subscribe ที่ด้านบน เพื่อติดตาม Blogger  krujojotalk.com   ด้วยนะครับ และสามารถสนับสนุนด้วยการบริจากผ่านทาง https://www.krujojotalk.com/p/support-me.html *****************************

ระวังความปลอดภัยบัญชี Social Media ของตนเองด้วย

มีคนพยายามจะ hack Instagram ของครูโจโจ้มา 2-3 วันละครับ แต่ก็สบายใจอยู่ เพราะตั้ง Two-Factor Authentication  เคยได้รับบทเรียนจาก Twitter ที่เจอ hacker ใจดี hack password ของเราได้ แล้วก็ใช้ account เราแกล้งทวีตเพื่อให้รู้ตัวว่าโดน hack ละนะ แต่ไม่ได้ลบหรือทำลาย account หรือแม่แต่เปลี่ยน password อะไร เพราะ twitter ของครูโจโจ้แทบไม่มีคนติดตาม 5555 เลยกู้มาได้อย่างชิลๆ  แต่ก็หลอนไปเลย ตั้งแต่นั้นจึงเปลี่ยน password ใหม่ทุก account ไม่ให้เหมือนกัน มีทั้งตัวเลข ตัวอักษรเล็ก ตัวอักษรใหญ่ และ สัญลักษณ์ สลับซับซ้อน และก็เพิ่ม 2-steps-verification ทุกอัน กันเหนียวไว้ก่อนเลย ครูโจโจ้ก็มาโพสเตือนทุกท่านด้วยเช่นกันครับ hacker ไม่ได้มีแค่คนในประเทศ แต่มีทั่วโลกเป็นจำนวนมากมายมหาศาล บางคนมาเพื่อลองวิชา (ซึ่งน้อยคนจะโชคดีแบบครูโจโจ้) บางคนมาเพื่อขโมย account เราไปใช้โฆษณาธุรผิดกฏหมาย บางคนก็มาเพื่อแลกค่าไถ่ก็มีครับ ยิ่งยอดผู้ติดตามเยอะยิ่งเป็นเป้าหมายครับ  ฉะนั้นให้ทุกคนระมัดระวังความปลอดภัยตรงนี้ด้วยครับ ครูโจโจ้ *************************************** 🧡 ฝากกด subscribe ที่ด้านบน เพื่อติดตาม Blogg

รายการสารดคีท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับความเสี่ยงอยู่เสมอ

รูปภาพ
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อยู่ ๆ ครูโจโจ้ก็คิดถึงรายการสารคดีคนไทยที่ชื่นชอบมากตอนเด็ก ๆ จำเพลงเข้าสู่รายการได้ จำน้ำเสียงและสไตล์ของผู้ดำเนินรายการได้  และจำชื่อบริษัทได้ คือ Panorama  แต่จำชื่อรายการไม่ได้ซะงั้น ครูโจโจ้จึงค้นหาข้อมูลใน Google จึงทราบชื่อรายการคือ "ผจญภัยไร้พรมแดน" ซึ่งในยุคนั้นดำเนินรายการโดยคุณ วีระ นุตยกุล ที่ครูโจโจ้ชื่นชอบมาก ด้วยท่าทางและน้ำเสียงที่เป็นมิตร แต่การไปเปิดโลกของคุณวีระนั้นเข้าถึงและลึกซึ้งกับชุมชน ทำให้เราได้ความรู้แบบลึก ๆ จนไปถึงแหล่งที่มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นการนำเสอนมุมที่แปลกและแตกต่างสำหรับรายการสารคดีไทยในยุคนั้นเลยทีเดียว  แต่สำหรับคนรุ่นราวคราวเดียวกันกับเด็กชายโจโจ้ในยุคนั้นจะไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะสมัยนั้นมีรายการท่องเที่ยวที่ดำเนินการโดยวัยรุ่นอยู่หลายรายการพอสมควร แต่ครูโจโจ้ไม่ค่อยชอบวิธีการนำเสนอที่ exaggerate (โอเวอร์) ของผู้ดำเนินรายการ บางครั้งก็ตะโกนโวยวาย ดูแล้วรู้สึกอึดอัด ส่วนรายการ "ส่องโลก" นั้นก็ใช้น้ำเสียงที่รู้สึกลี้ลับจนต้องลุ้นอยู่ตลอดเวลา 5555 (แต่ชอบมากตอนที่รายการนำเสนอเรื่องมนุษย์ต่างดาว) ที่ครูโจโ

รีวิวสารคดีเรื่อง Behind the Curve เจาะลึกชาวโลกแบน

รูปภาพ
  สารคดีเรื่อง Behind the Curve เป็นการนำเสนอคนกลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่เรียกตัวเองว่า Flat Earthers ซึ่งเชื่ออย่างจริงจังว่าโลกใบนี้ "แบน" (Flat = แบน) ไม่ได้กลมแบบที่นักวิทยาศาสตร์ NASA หลอกลวง ..... (ห๊ะ!) ซึ่งครูโจโจ้ได้ดูสารคดีเรื่องนี้ใน Netflix ครับ มีคนที่เขียนหนังสือสร้างทฤษฏีสมคบคิดเรื่องโลกแบนไว้มากมายในอดีต อันมีจุดกำเนิดจากการที่คนไปตีความผิด ๆ จากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งไบเบิ้ลไม่เคยบอกว่าโลกนี้แบนแต่อย่างใด ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ คัมภีร์ไบเบิ้ลสอนไหมว่าโลกแบน? )  เรื่องของเรื่องก็คือ มีผู้ชายคนหนึ่งนามว่า Mark Sargent ผู้ซึ่งหยิบหนังสือที่สร้างทฤษฏีสมคบคิด (conspiracy theory) ว่าโลกใบนี้แบนมาอ่านและเชื่ออย่างสุดจิตสุดใจ เชื่อว่าเราทั้งหลายอยู่บนโลกที่แบนเหมือนแผ่นซีดี เหตุเพราะเขาสังเกตจากการมองข้ามทะเลแถวบ้านแล้วยังมองเห็นอีกเมืองที่ไกลโพ้นออกไป ยิ่งทำให้เขามั่นใจและเชื่อว่า NASA สร้างข้อมูลหลอกลวง จากนั้นเขาเผยแพร่ความเชื่อของเขาผ่านช่องทาง YouTube สิ่งที่เหลือเชื่อนั่นก็คือ มีผู้ที่เห็นด้วยกับเขามากมายและกลายเป็นผู้ติดตามดั่งสาวกลัทธิอย่างไงอย่างงั้น  เขาได