บทความ

If - Clause "ถ้าเขามา .. ฉันจะไป"

รูปภาพ
เรื่อง If - Clause  หรือเรียกอีกอย่างคือ Conditional Sentence  = ประโยคเงื่อนไง ครูโจโจ้มักจะบอกนักเรียนนึกถึงประโยคนึงเสมอคือ "ถ้าเขามา ฉันจะไป" คล้ายๆ กับเพลงของ ดา เอ็นโดฟิน เพราะประโยคนี้แหล่ะ คือประโยคเงื่อนไข หรือเรื่อง If - Clause นั่นเอง "ถ้าเขามา ฉันจะไป" มี 2 ประโยคด้วยกัน "ถ้าเขามา" คือ If Clause เพราะ if = ถ้า  (If he comes) "ฉันจะไป" คือ Main Clause (I will go) ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งของ If If aaaaaa , bbbbb    = ขึ้นต้นด้วย If จะมี comma ( , ) คั่นกลาง If he comes , I will go. Bbbbbb if aaaaaa   = ใช้ if ไว้ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมประโยค I will go if he comes.  การเขียนประโยคเงื่อนไขด้วย If ในบางตำราจะเรียกเงื่อนไขเป็นตัวเลข เป็น 0, 1, 2, 3 แต่สำหรับครูโจโจ้แนะนำว่าให้เข้าใจความหมายของแต่ละลักษณะของเงื่อนไขจะเข้าใจได้มากกว่านะครับ ทั้งนี้การเขียน If clause นั้นก็ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้องเป็นแบบ 0, 1, 2, 3 เสมอไป ยังมีการเขียน If ที่เป็นแบบผสมหลากหลาย แต่ครูโจโจ้อยากให้เข้าใจเงื่อนไขพื้นฐาน 4 เงื่อนไขดังต

รีวิวหนังสือ - โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง

รูปภาพ
"โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" เป็นหนังสือที่ครูโจโจ้เคยอ่านครั้งเมื่อยังเป็นนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ครั้งนั้นยังประทับใจไม่รู้ลืม จนได้เห็นวางอยู่บนแผงหนังสือใหม่อีกครั้ง เลยซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกและอ่านทบทวนเพื่อเติมเต็มไฟฝันในการทำอาชีพครู "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" เป็นหนังสือที่เล่าจากประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้เขียน คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ในวัยเด็กประถมที่โรงเรียน โทโมเอ ซึ่งก่อตั้งโดย คุณครูโคบายาชิ โซซาขุ เป็นคุณครูใหญ่ของโรงเรียนโทโมเอด้วย หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาไทยโดย คุณผุสดี นาวาวิจิต และตีพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกเมื่อปี 2527 โดยสำนักพิมพ์กะรัต ต่อมาเป็นฉบับแก้ไข ตีพิมพ์ในปี 2558 โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อญี่ปุ่น ความประทับใจของครูโจโจ้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คือแนวคิดของคุณครูใหญ่ โคบายาชิ โรงเรียนโทโมเอเป็นโรงเรียนที่ใช้ตู้รถไฟเก่า 6 ตู้มาเป็นห้องเรียน ลองจิตนาการดูนะครับว่าถ้าเราเป็นเด็กแล้วเดินเข้าไปในโรงเรียนที่เป็นรถไฟแบบนี้จะตื่นเต้นขนาดไหน แล้วยิ่งกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นขับเคลื่อนโดยคุณครูใหญ่โคบายาช

"อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น" Present Perfect

รูปภาพ
The name "Shirakawa-go" has made a large number of appearances throughout the history of Japan. โครงสร้างของ Present Perfect (+) ประโยคบอกเล่า S + Have1 + V3 (-) ประโยคปฏิเสธ S + Have1 + not + V3 (?) ประโยคคำถาม (WH) Have1 + S + V3 ? *หมายเหตุ Have1 = have กับ has have ใช้กับ I, You, We, They เอกพจน์บุรุษที่ 1 และ 2 พหูพจน์ has ใช้กับ เอกพจน์บุรุษที่ 3 = He, She, It เป็นต้น ตัวย่อในรูปปฏิเสธ have not = haven't has not = hasn't การใช้ Present Perfect Think about the past and present together "อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น" เรามักจะเคยได้ยินว่า Present Perfect ใช้กับ "เหตุการณ์ในอดีตมีผลกับปัจจุบัน"   ทีนี้ครูโจโจ้ก็มาปรับคำพูดใหม่เป็น "อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น"  เพราะประโยคจะมี สองสถานการณ์ที่ควบคู่กัน ประกอบด้วย  Finished action คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วในอดีต กับ Present คือเหตุการณ์ในปัจจุบัน หรือ ยังมีผลถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองสถานการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกันในห้วของผู้พูด ประ

เรียนศัพท์จากเพลง Be Prepared (จงเตรียมพร้อม) The Lion King

รูปภาพ
เพลง Be Prepared หรือ จงเตรียมพร้อม ของ The Lion King เป็นเพลงการ์ตูน Disney เพลงแรกที่ครูโจโจ้สามารถร้องและจดจำได้จนถึงทุกวันนี้ เมื่อตอนเด็กๆ (น่าจะเรียนอยู่ ป.6) ร้องเพลงเป็นภาษาไทย พอโตขึ้นก็มาเทียบระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทยเพื่อดูความหมาย อย่างแรกครูต้องขอชื่นชมทีมแปลเพลงได้สุดยอดมากๆ เพราะนอกจากแปลให้ภาษาสละสลวยแล้ว ยังต้องแปลให้เนื้อร้องและทำนองลงตัวอีก ครูโจโจ้ขอคาราวะ ฟังกันได้จากคลิปต่อไปนี้ครับ The Lion King: Be Prepared | Sing-A-Long | Disney จงเตรียมพร้อม Be Prepared (Thai) - เดอะ ไลอ้อน คิง | The Lion King ทีนี้เรามาดูกันครับว่าเนื้อเพลง ภาษาอังกฤษ เทียบกับ ภาษาไทย I know that your powers of retention ความจำในสมองเจ้าข้ารู้ดี Are as wet as a warthog's backside ว่ามันเฉื่อยอย่างกับหมูตัวข้างใน But thick as you are, pay attention แต่พวกเจ้าทั้งหลายฟังกันให้ดี My words are a matter of pride ทุกคำของข้านี้ลืมไม่ได้ It's clear from your vacant expressions เจ้าคงไม่เข้าใจว่ามันสำคัญ The lights are not all on upstairs

The Little Mermaid มีพากย์ไทยถึง 2 ครั้ง

รูปภาพ
ว่าจะเขียนบทความเพื่อเทียบการแปลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษของเพลงการ์ตูนดิสนี่ย์ยุค 80 แต่จำได้ว่ามีเรื่องหนึ่งที่เคยดูนั้นมีการแปล 2 ครั้ง นั่นก็คือ The Little Mermaid ซึ่งเวอร์ชั่น 1989 (หรือบางคลิปใน YouTube บอกปี 1991) นี้ผมเคยดูในยุคของวิดีโอที่เป็นตลับ (ของแท้เป็นสีม่วง) แต่เวอร์ชั่นภาษาไทยที่คนไทยร้องกันติดปากนั้นเป็นเวอร์ชั่น CD ปี 1999 ซึ่งผมจะศึกษาการแปลของทั้งสองเวอร์ชั่น โดยเฉพาะเพลง Poor Unfortunate Souls แต่อนิจจา หาเวอร์ชั่นปี 1989 ไม่เจอแล้ว แต่ก็จะพยายามหาอยู่เรื่อยๆ เผื่อมีใครที่มีวิดีโอเก่าแล้วอยากแชร์ใน YouTube ซักวัน  (**เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2021 ครูโจโจ้หาเจอแล้วครับ! ดูคลิปที่ด้านล่าง) ผมชื่นชมทีมนักแปลของการ์ตูน Disney มากๆ ยิ่งโตขึ้นยิ่งเห็นความสามารถของพวกเขาที่สรรหาคำมาเทียบได้อย่างสละสลวย นอกจากแปลอังกฤษเป็นไทยแล้ว ก็ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก ป.ล. ในคลิปนี้เป็นเวอร์ชั่น 1989 น่าจะเรียกว่าชื่อเพลง "โลกเดียวกับคน" ฟังแล้วอาจจะแปลกหูหน่อยสำหรับคนที่ไม่เคยฟังนะครับ ส่วนปี 1999 ชื่อว่า "อยู่ในโลกเธอ" ที่มักจะได้ยินเด็กๆ ร้องเพลงนี้กันติดห

ครูโจโจ้รีวิว เรื่อง The Lion King 2019

รูปภาพ
The Lion King 2019 เป็นหนังที่สร้างขึ้นเพื่อแปลงการ์ตูนที่เราเคยดูในวัยเด็กให้เสมือนจริงที่สุด จนเหมือนว่าเรากำลังดูรายการสารคดีชีวิตสัตว์ป่าเลยทีเดียว อีกอย่างก็เป็นการเติมเต็มเนื้อหาบางฉากให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น การหนีมาของนาล่า เรื่องราวความสัมพันธ์ของสการ์และซาราบี้ในอดีต หน้าที่ของสิงโตตัวเมีย ซีนที่ซิมบ้ากับสการ์สู้กัน (เพราะเวอร์ชั่นการ์ตูน ซีนนี้ทำเป็น slow motion แล้วมันก็ดูแปลกๆ 55555) เป็นต้น ส่วนตัวแล้วประทับใจเรื่องนี้นะ คือไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเหมือนการ์ตูนอยู่แล้ว แต่เห็นความพยายามที่จะทำให้หลายๆ ฉากเหมือนการ์ตูนมากที่สุด มันก็สุขใจนะ ในทางกลับกันผู้สร้างก็พยายามทำแอนิเมชั่นกราฟฟิคให้สมจริงมากที่สุด จนแทบไม่มีความเป็นการ์ตูนเลย อย่างฉากที่สการ์ร้องเพลง Be Prepared ซึ่งเป็นเพลงที่ชอบมากๆ ก็ต้องปรับและลดเนื้อหาไป เพราะซีนนี้ในการ์ตูนมันแฟนตาซีมากๆ แต่ก็ยังดีที่ยังมีเพลงนี้ในเวอร์ชั่นแอนิเมชั่นนี้อยู่ เรื่องบทเพลงในเวอร์ชั่นนี้เอาเพลงจากเวอร์ชั่นการ์ตูนมาหมดทุกเพลง สิ่งที่ผิดหวังนิดหน่อย คือซีนที่ซิมบ้าเสียใจที่มูฟาซาตาย อารมณ์เกือบพีคละ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะส่วนตัวจดจำ

ต่อเนื่องด้วยเรื่อง Present Continuous

รูปภาพ
What is he doing? เหมือนเดิมครับ สิ่งที่เราจะต้องรู้ในแต่ละ Tense ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ โครงสร้าง การใช้ คำบอกเวลา โครงสร้างของ Present Continuous (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Present Progressive) (+)   ประโยคบอกเล่า   S + Be1 + V ing (-)   ประโยคปฏิเสธ    S + Be1 + not + V ing (?) ประโยคคำถาม  (WH) Be1 + S + V ing ?   *หมายเหตุ Be1 คือ Verb to be ช่องที่ 1 ประกอบด้วย is, am, are I ใช้กับ am You ใช้กับ are We/They และ นามพหูพจน์ ใช้กับ are He/She/It  และ นามเอกพจน์ ใช้กับ is (หลักการเติม V ing ขอยกไปบทความต่อไป) การใช้ Present Continuous  Temporary/Unpredictable/Unplanned events   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว (ไม่ถาวร) เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด หรือ วางแผนไว้ล่วงหน้า I'm working hard these days these days = ช่วงนี้ คือปกติไม่ได้หนักขนาดนี้ ช่วงนี้ที่ทำงานหนัก เหตุการณ์ชั่วคราว Look at the window! The birds are flying .  คือนกกำลังบินผ่านตอนนี้ แล้วบอกให้ทุกคนหันไปดู ปกติคือนกไม่เคยบินตรงนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดว