บทความ

The Little Mermaid มีพากย์ไทยถึง 2 ครั้ง

รูปภาพ
ว่าจะเขียนบทความเพื่อเทียบการแปลภาษาไทยกับภาษาอังกฤษของเพลงการ์ตูนดิสนี่ย์ยุค 80 แต่จำได้ว่ามีเรื่องหนึ่งที่เคยดูนั้นมีการแปล 2 ครั้ง นั่นก็คือ The Little Mermaid ซึ่งเวอร์ชั่น 1989 (หรือบางคลิปใน YouTube บอกปี 1991) นี้ผมเคยดูในยุคของวิดีโอที่เป็นตลับ (ของแท้เป็นสีม่วง) แต่เวอร์ชั่นภาษาไทยที่คนไทยร้องกันติดปากนั้นเป็นเวอร์ชั่น CD ปี 1999 ซึ่งผมจะศึกษาการแปลของทั้งสองเวอร์ชั่น โดยเฉพาะเพลง Poor Unfortunate Souls แต่อนิจจา หาเวอร์ชั่นปี 1989 ไม่เจอแล้ว แต่ก็จะพยายามหาอยู่เรื่อยๆ เผื่อมีใครที่มีวิดีโอเก่าแล้วอยากแชร์ใน YouTube ซักวัน  (**เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2021 ครูโจโจ้หาเจอแล้วครับ! ดูคลิปที่ด้านล่าง) ผมชื่นชมทีมนักแปลของการ์ตูน Disney มากๆ ยิ่งโตขึ้นยิ่งเห็นความสามารถของพวกเขาที่สรรหาคำมาเทียบได้อย่างสละสลวย นอกจากแปลอังกฤษเป็นไทยแล้ว ก็ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก ป.ล. ในคลิปนี้เป็นเวอร์ชั่น 1989 น่าจะเรียกว่าชื่อเพลง "โลกเดียวกับคน" ฟังแล้วอาจจะแปลกหูหน่อยสำหรับคนที่ไม่เคยฟังนะครับ ส่วนปี 1999 ชื่อว่า "อยู่ในโลกเธอ" ที่มักจะได้ยินเด็กๆ ร้องเพลงนี้กันติดห

ครูโจโจ้รีวิว เรื่อง The Lion King 2019

รูปภาพ
The Lion King 2019 เป็นหนังที่สร้างขึ้นเพื่อแปลงการ์ตูนที่เราเคยดูในวัยเด็กให้เสมือนจริงที่สุด จนเหมือนว่าเรากำลังดูรายการสารคดีชีวิตสัตว์ป่าเลยทีเดียว อีกอย่างก็เป็นการเติมเต็มเนื้อหาบางฉากให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น การหนีมาของนาล่า เรื่องราวความสัมพันธ์ของสการ์และซาราบี้ในอดีต หน้าที่ของสิงโตตัวเมีย ซีนที่ซิมบ้ากับสการ์สู้กัน (เพราะเวอร์ชั่นการ์ตูน ซีนนี้ทำเป็น slow motion แล้วมันก็ดูแปลกๆ 55555) เป็นต้น ส่วนตัวแล้วประทับใจเรื่องนี้นะ คือไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเหมือนการ์ตูนอยู่แล้ว แต่เห็นความพยายามที่จะทำให้หลายๆ ฉากเหมือนการ์ตูนมากที่สุด มันก็สุขใจนะ ในทางกลับกันผู้สร้างก็พยายามทำแอนิเมชั่นกราฟฟิคให้สมจริงมากที่สุด จนแทบไม่มีความเป็นการ์ตูนเลย อย่างฉากที่สการ์ร้องเพลง Be Prepared ซึ่งเป็นเพลงที่ชอบมากๆ ก็ต้องปรับและลดเนื้อหาไป เพราะซีนนี้ในการ์ตูนมันแฟนตาซีมากๆ แต่ก็ยังดีที่ยังมีเพลงนี้ในเวอร์ชั่นแอนิเมชั่นนี้อยู่ เรื่องบทเพลงในเวอร์ชั่นนี้เอาเพลงจากเวอร์ชั่นการ์ตูนมาหมดทุกเพลง สิ่งที่ผิดหวังนิดหน่อย คือซีนที่ซิมบ้าเสียใจที่มูฟาซาตาย อารมณ์เกือบพีคละ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะส่วนตัวจดจำ

ต่อเนื่องด้วยเรื่อง Present Continuous

รูปภาพ
What is he doing? เหมือนเดิมครับ สิ่งที่เราจะต้องรู้ในแต่ละ Tense ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ โครงสร้าง การใช้ คำบอกเวลา โครงสร้างของ Present Continuous (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Present Progressive) (+)   ประโยคบอกเล่า   S + Be1 + V ing (-)   ประโยคปฏิเสธ    S + Be1 + not + V ing (?) ประโยคคำถาม  (WH) Be1 + S + V ing ?   *หมายเหตุ Be1 คือ Verb to be ช่องที่ 1 ประกอบด้วย is, am, are I ใช้กับ am You ใช้กับ are We/They และ นามพหูพจน์ ใช้กับ are He/She/It  และ นามเอกพจน์ ใช้กับ is (หลักการเติม V ing ขอยกไปบทความต่อไป) การใช้ Present Continuous  Temporary/Unpredictable/Unplanned events   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว (ไม่ถาวร) เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด หรือ วางแผนไว้ล่วงหน้า I'm working hard these days these days = ช่วงนี้ คือปกติไม่ได้หนักขนาดนี้ ช่วงนี้ที่ทำงานหนัก เหตุการณ์ชั่วคราว Look at the window! The birds are flying .  คือนกกำลังบินผ่านตอนนี้ แล้วบอกให้ทุกคนหันไปดู ปกติคือนกไม่เคยบินตรงนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดว

รีวิว Applications ที่ดีต่อการใช้จดบันทึกกับปากกา

รูปภาพ
ด้วยความที่ปกติใช้ Samsung ที่มีปากกามาตลอด และ Samsung เองก็มี app ที่เอาไว้เขียนอยู่แล้ว เลยไม่เคยใช้ app อื่นเลย พอครั้งนี้เปลี่ยนมาใช้ Huawei ก็เลยต้องหา app มาเขียนกับปากกา (app ของ Huawei ไม่ work เลย) ก็พบ 3 apps ดังต่อไปนี้ 1. LectureNotes ต้องยกให้เป็นอันดับหนึ่งเลยเพราะลูกเล่นเพียบจริงๆ อย่างแรกคือเราสามารถสร้างปกได้หลากสีตามที่ต้องการ รวมถึงสีของแผ่นกระดาษ ซึ่งบางทีอาจจะยุ่งยากไปสำหรับคนที่เร่งรีบ ซึ่งตัว app เองก็จะมีให้เลือกนั่นก็คือ Quick notes เพื่อให้เราใช้จดก่อนแล้วค่อยแก้ไขปกหรือลายเส้นกระดาษทีหลังได้ สามารถสร้าง folder เพื่อจัดกลุ่มสมุดของเราได้ นำเข้าและส่งออกเป็น PDF ได้ โดยที่ราคาแบบ Pro จะอยู่ที่ราคา 225 บาท คือครบครันเรื่องการเขียน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัว app ยังมี extensions เสริมหากผู้ใช้ต้องการลูกเล่นเพิ่มอย่างเช่น LecturePresentations เพื่อ screecast นำเสนอการ lecture ของเรา (ราคา 53 บาท) LectureVideos ก็เอาไว้บันทึกการ lecture และเสียงของเรา (ราคา 71.00) ซึ่งแนะนำว่าถ้าหากมี app บันทึกหน้าจออยู่แล้วก็ไม่จำเป็น และ LectureRecodings เพื่ออัดเสียงเราในขณ

YouTube Kids ที่ผู้ปกครองควรโหลดไว้ให้ลูกหลาน

รูปภาพ
YouTube Kids เป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อชมวิดิโอที่พัฒนาจาก YouTube ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่สร้างขึ้นสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะ ด้วยการคัดเลือกวิดีโอที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของหนูๆ 1. ขั้นตอนแรก ติดตั้งจาก Google Play ในระบบ Android หรือ App Stores ใน iOS 2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วและเข้าไปที่แอพจะมีข้อความต้อนรับเราแบบนี้ ให้ไป GET STARTED (แปล) ยินดีต้อนรับสู่ YouTube Kids! ให้ผู้ปกครองปลดล็อคแอพนี้ สวัสดีคุณผู้ปกครอง ก่อนที่ลูกหลานของท่านจะเริ่มการใช้งาน มีกระบวนการนิดหน่อยที่เราต้องการให้ท่านรู้เกี่ยวกับแอพนี้ และ การตั้งค่าบางอย่างสำหรับท่าน 3. ระบบจะให้เรากรอกปีเกิดของผู้ปกครอง (เป็น ค.ศ. ถ้าใครจำไม่ได้ให้นำปี พ.ศ.ที่เกิด แล้วลบด้วย 543) (แปล) สวัสดีท่านผู้ปกครอง ระบุปีที่ท่านเกิด กระบวนการนี่แค่เพื่อระบุอายุของท่าน ซึ่งไม่ได้เก็บไว้เป็นข้อมูล 4. จากนั้นก็จะก็จะเป็นหน้าคำอธิบายเรื่องการบล็อคและการรายงาน (Blocking & reporting) (แปล) การบล็อคและการรายงาน เราทำงานอย่างเต็มที่เพื่อนำเสนอสิ่งที่ปลอดภัยต่อประสบการณ์ใช้ YouTube แต่ไม่มีระบบอัตโนมัติใดๆ ที่สมบูรณ์ ถ้

Update! Fonts ภาษาไทยใหม่ ใน Google Docs

รูปภาพ
จากบทความก่อนหน้านี้ที่เคยนำเสนอเรื่อง "ฟอนต์ภาษาไทยใน Google Docs"  ( https://krujojotalk.blogspot.com/2018/04/google-docs.html ) และบทความนี้ Update! ฟอนต์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งก่อนหน้านี้ครูโจโจ้เคยแสดงความคิดเห็นว่าฟอนต์ ไตรรงค์ (Trirong) มีความคล้ายฟอนต์ไทยสารบัญ (TH Sarabun) ที่สุด แต่ล่าสุดมีที่ใกล้เคียงกว่า เรามาดูกันครับว่าฟอนต์ไหน และมีฟอนต์อะไรบ้าง ฟอนต์ใหม่ที่เพิ่มมามีชื่อดังนี้ Bai Jamjuree (ใบจามจุรี) Chakra Petch (จักรเพชร) Charm (ชาร์ม) Charmonman  (จามรมาน) Fahkwang (ฟ้ากว้าง) K2D  KoHo  Krub (ครับ) Mali (มะลิ) Niramit (นิรมิตร) *Sarabun (สารบัญ) Srisakdi (ศรีศักดิ์) Thasadith (ธ สถิต) เราลองมาดูหน้าตาของฟอนต์เหล่านี้กันครับ *หมายเหตุ   ฟอนต์ Sarabun ของ Google ยังพบปัญหา คือ ไม่สามารถเพิ่มลงในระบบได้ (แม้เราจะกดเพิ่มไปแล้วก็ตาม) ดังนั้นฟอนต์จึงเป็นลักษณะค่าตั้งต้นคือ Arial  อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราเข้าไปดู Docs ผ่าน application ของระบบ Android พบว่าฟอนต์แสดงผลเหมือนกับ TH Sarabun ในระบบของ Microsoft Office เลยทีเดียว ดูได