บทความ

โฉมใหม่! Google Sites

รูปภาพ
Google Sites ใหม่! หลังจากที่ได้กูเกิลได้พัฒนาและเปิดให้ใช้กับกลุ่มทดลองมาซักระยะ ตอนนี้รูปแบบใหม่ได้ประกาศใช้ให้กับสมาชิก G Suite ทั่วไปแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น หน้าตาดูดึงดูดมากขึ้น เพิ่มธีมใหม่อีก 6 ธีม สามารถแสดงผลรายงานจำนวนผู้เข้าชมผ่าน Google Analytics และลูกเล่นอื่นๆ อีกมากมาย แล้ว Sites แบบเดิมล่ะ? มันกลายเป็น Classic Sites ไปซะแล้ว ซึ่งกูเกิลยังคงให้ใช้งานต่อไปพร้อมกับ Sites ใหม่แบบควบคู่กันไป เพียงแต่ว่าภายในปี 2017 จะมีตัวเลือกเพื่อแนะนำให้ย้ายจาก classic Sites ไปยัง new Sites และประมาณต้นปี 2018 จะมีกำหนดให้ยกเลิก (shutdown) classic Sites ส่วนวันที่ที่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปีโดยทั่วกัน ซึ่งทางกูเกิลกล่าวว่า Sites ใหม่นั้นสามารถทำงานได้บนหน้าจอรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พกพา เพื่อแสดงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด คำสั่ง เปิด - ปิด Sites ในองค์กร (สำหรับ admin) Sites ใหม่ ตั้งค่าเปิด (ON) เป็นค่ามาตรฐานอยู่แล้ว แต่ user ไม่สามารถสร้างหรือแก้ไขใน Sites ใหม่ได้ เว้นเสียแต่ว่า admin ได้ตั้งค

แชร์หน้าจอมือถือ/แท็บเล็ตบนคอมพิวเตอร์ด้วย SideSync (Samsung)

รูปภาพ
คลิปการทดลองใช้งาน SlideSync กับอุปกรณ์พกพา โดยครูโจโจ้ วันนี้ครูโจโจ้มีแอปพลิเคชันดีๆ มาแนะนำครับ  "SideSync" เป็นแอปพลิเคชันจากค่าย Samsung ที่สามารถแชร์หน้าจอและข้อมูลระหว่างพีซีกับอุปกรณ์พกพาต่างๆ  ซึ่งสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  คลิปแนะนำการทำงานของ SldeSync ขั้นตอนการ Download สำหรับอุปกรณ์พกพาจาก Samsung ให้ download แอปที่ Galaxy Apps  สำหรับคอมพิวเตอร์ download จาก   http://www.samsung.com/th/support/convergence/sidesync/ (มีให้เลือกทั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ MAC) ขันตอนการใช้งาน 1.ที่คอมพิวเตอร์ คลิกไอคอนดังรูป     2. จะเป็นเมนูขึ้นมา 3. คลิกที่คำสั่ง Tablet Screen ก็จะปรากฏหน้าจอของอุปกรณ์ของเราที่คอมพิวเตอร์ 4. ที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมมุมบนซ้าย ให้คลิกเพื่อเลือกคำสั่ง Enable Presentation mode เพื่อเปิดใช้โหมดการนำเสนอที่สามารถใช้งานบนหน้าจออุปกรณ์พกพา ควบคู่ไปกับการแสดงผลที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย 5. หากต้องการให้แสดงผลแบบแนวนอน ให้ขยายหน้าจอ SlideSync ก่อน โดยคลิกที่สัญลักษณ์ด้านมุมบนขวา (Maximize)

พ่ออยู่หัว และ พ่อของผม

รูปภาพ
ผมจะเล่าเรื่องความรัก ความจงรักภัคดี ที่พ่อของผมมีต่อพ่ออยู่หัว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพระบรมโกศ พ่อผมรักในหลวงมาก  ท่านเป็นข้าราชการรับใช้แผ่นดินภายใต้สังกัดกรมทางหลวง จนเกษียณอายุข้าราชการ  และเสียชีวิตลงหลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือน ด้วยโรคมะเร็ง  ตั้งแต่ผมยังเด็ก เวลาที่มีงานจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติที่ใด  พ่อก็จะพาพวกเราไปด้วยเสมอ  ถ้าหากว่าไม่ได้เดินทางไปไหน พ่อผมติดตามข่าวในพระราชสำนักทุกวันไม่เคยขาดแม้กระทั่งตอนที่นอนป่วยอยู่โรงพยาบาล และจำได้ว่าแม่ต้องไปต่อคิวเพื่อซื้อเสื้อสีเหลืองให้พ่อในช่วงนั้นด้วย  พ่อผมไม่เคยบอกหรอกว่ารักในหลวงมากแค่ไหน แต่สิ่งที่ผมซึมซับมาจากการปฏิบัติของพ่อนั่นแหล่ะคือคำอธิบาย ครอบครัวเราได้เห็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพ่ออยู่หัวโดยเสมอมา   สำหรับส่วนตัวผมแล้ว ผมจบจากโรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพ่ออยู่หัว ในภาคเหนือ (อดีตเคยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า King's School)  โรงเรียนซึมซับพระมหากรุณาธิคุณมาโดยตลอด  ที่มา เพจ  โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ผมเล่าควา

รู้หรือยัง Chromebook ลงฟอนต์ไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ได้แล้ว

รูปภาพ
หลายคนได้สัมผัสกับ Chromebook ที่มีขนาด "บางเบา ราคาย่อมเยาว์ แต่ประสิทธิภาพนั้นไม่เบา" กันมาบ้างแล้ว ซึ่งใครที่ใช้งานผ่าน Chrome และ Google Apps อยู่เป็นประจำ ก็จะมีความคุ้นเคยต่อการใช้งานเป็นอย่างดี แต่มันก็มีปัญหาอยู่อย่างเดียว เมื่อวัตถุประสงค์สำคัญของ Chromebook ก็คือ เน้นมาเพื่อใช้ในการทำงานผ่านระบบ Cloud ซึ่งงานเอกสารทางราชการในบ้านเราจำเป็นต้องใช้ฟอนต์ "ไทยสารบรรณ" หรือ TH SarabunPSK แต่ปรากฏว่ามันไม่มีเสียน่ะซิ โหลดมาแล้วก็ติดตั้งไม่ได้ซะด้วย แย่แล้ววว (สำหรับคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows สามารถแก้ไข้ได้ โปรดอ่าน แก้ปัญหาไม่พบฟอนต์ TH Sarabun ใน Google Drive ด้วยวิธีง่ายๆ ) สำหรับครูโจโจ้แล้ว ก็มองว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญเลยทีเดียวที่ใครก็ตาม รวมถึงครูโจโจ้เอง ที่จะตัดสินใจซื้อ Chromebook มาซักเครื่อง แต่ก็ด้วยความโชคดีครับ ที่มีโอกาสได้ทดลองใช้ Chromebook ก็เลยไม่นิ่งนอนใจ ทดลองทุกวิธีทางแล้วยังไงฟอนต์ไทยสารบรรณก็ไม่ปรากฏให้ใช้งานซักที ก็เลยติดต่อไปที่ https://www.google.com/intl/th/contact ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องการไม่อยู่ในรา

อ่าน PowerPoint ให้นักศึกษาฟัง ใครๆ ก็สอนได้

รูปภาพ
จากรูปที่แชร์กันในโลกโซเชียล เป็นรูปคล้ายๆ โพสอิทที่มีข้อความซึ่งน่าจะเป็นของนักศึกษาคนหนึ่ง เขียนถึงอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย เขียนไว้ว่า "อ.ค่ะ(ที่ถูกต้องเป็น คะ) รบกวน อ.อย่าอ่าน PowerPoint สอนเลยค่ะ ตั้งแต่เปิดเทอม หนูให้คะแนนการอ่าน PowerPoint เต็ม 100 ค่ะ แต่เทคนิก(นิค)การสอนให้ F ค่ะ อยากได้ความรู้ที่มากกว่าการฟัง อ.อ่าน PowerPoint ค่ะ ขอบคุณค่ะ" ซึ่งก็เป็นข้อความที่โดนใจนักศึกษาเป็นอย่างมาก แน่นอนว่ามีผู้สอนหรือผู้บรรยายหลายท่านที่ใช้ PowerPoint ไม่ถูกวัตถุประสงค์เท่าใดนัก การบรรยายจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และไม่สบอารมณ์ต่อตัวผู้สอนหรือผู้บรรยายเองซักเท่าใดอีกด้วย แล้วทีนี้ผู้สอนหรือผู้บรรยายต้องทำอย่างไร ครูโจโจ้มีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ ความผิดพลาดของการใช้สไลด์ หรือ PowerPoint คือถ้าเราใส่เนื้อหา ทุกสิ่งทุกอย่าง ลงในสไลด์จนเต็มไปหมด จุดสนใจก็จะถูกดึงอยู่ที่เนื้อหาบนสไลด์ (การใช้ตัวอักษรดุ๊กดิ๊กมากไปก็เช่นกัน) ผู้บรรยายหรือผู้สอนก็แทบไร้ความหมายเลย เพราะพวกเขาก็อ่านเองได้ ทำไมต้องฟังด้วยล่ะ? (ในความคิดของผู้ฟัง) ฉะนั้นการทำสไลด์ที่ดีก็ควรมีแค่หัวข้อ ประเ

เด็กปีหนึ่งใช้ "Freshman" หรือ "Freshmen" ???

รูปภาพ
เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย เหล่าเด็กปีหนึ่งใสๆ ก็เลยมีชื่อเรียกแบบน่ารักๆ กันว่า "Freshy" ก็น่าจะมีที่มาจากคำว่า fresh หมายถึงความสดใส แล้วก็ใส่เสียง -y เข้าไปให้มันฟังดูน่ารักขึ้น (เฟรชชี่) แต่ภาษาอังกฤษเขาไม่เรียกกันนะครับ (ที่มีก็เป็น freshly ก็ไม่น่าเรียกกัน) ซึ่งปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกกันให้ถูกก็คือ "freshman" นั่นเอง (หรือ "fresher" แบบ British ก็ได้) แต่ทีนี้มีคำถาม ระหว่าง "freshman" กับ "freshmen" แตกต่างกันอย่างไร  และควรใช้คำไหนถึงจะถูก อย่างแรกเลยครับ freshman เป็นคำนามเอกพจน์ (singular) มีความหมายคือ นิสิต/นักศึกษา หนึ่งคน ส่วน freshmen ก็เป็นคำนามพหูพจน์ (plural) หมายถึง นิสิต/นักศึกษา หลายคน   Jack is a  freshman at Chiang Mai University. Jack and Jill are freshmen at Chiang Mai University. และมากไปกว่านั้น freshman ยังสามารถเป็น adjective ได้ด้วย เช่น We will miss our freshman year of university.   The freshman class has 1,600 students. ซึ่งมีแต่คำว่า freshman เท่านั

แชร์ LINE กลุ่ม ด้วยวิธีต่างๆ

รูปภาพ
แชร์ LINE กลุ่ม  เพื่อให้สมาชิกเข้าร่วม ด้วยวิธีต่างๆ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ  "แนะนำการใช้ LINE เพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ที่เมนู ไปที่ Invite เพื่อเชิญเพื่อน วิธีที่ 1 - เลือกเพื่อนเข้ากลุ่ม วิธีที่ 2 - ใช้ QR Code วิธีที่ 3 - แชร์ Link ลง Social Media วิธีที่ 4 - ส่ง Email เพื่อเชื้อเชิญเข้ากลุ่ม วิธีที่ 5 - ส่ง SMS ถึงเพื่อน (คลาสสิค)  คลิกเพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้  การสร้างกลุ่ม การใช้ Album การใช้ Note เพื่อประกาศ การสร้าง Shortcut กลุ่ม ปิดเสียงเฉพาะกลุ่ม วิธีส่งไฟล์รูปผ่าน LINE แบบ Original ที่ไม่ลดคุณภาพของไฟล์ หรือสามารถอ่านหัวข้อทั้งหมดทีเดียวได้ที่บทความ  "แนะนำการใช้ LINE เพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ"