บทความ

(ต่อ) แก้ปัญหาไม่พบฟอนต์ TH Sarabun ใน Google Drive ด้วยวิธีง่ายๆ

รูปภาพ
ภาพจาก Google Presentation  ** หมายเหตุ **   สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเครื่องของเราต้องติดตั้งฟอนต์ TH Sarabun เสียก่อน กรุณาคลิกเพื่อดาวโหลด Font SarabunPSK   จากเว็บ กระทรวงศึกษาธิการ จากบทความที่ผ่านมา เราได้รับทราบกันแล้วว่าขณะนี้ Font TH Sarabun ได้ถูกบรรจุอยู่ใน Google Drive เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ แต่จากปัญหาก่อนหน้านี้ที่แจ้งไว้ว่ายังไม่สามารถใช้ TH SarabunPSK ได้ถ้าเมนูคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่ "เส้นผมบังภูเขา" มากครับ คราวนี้ผู้เขียนมีวิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่ค้นพบฟอนต์ TH SarabunPSK  แบบง๊ายง่าย ... ถึงง่ายที่สุดเลยนะครับ  โดยที่เมนูคำสั่งต่างๆ ก็ยังเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ท่านสนใจ (บทความนี้คงถูกใจครูภาษาต่างประเทศเลยล่ะครับ) เมื่อเราเริ่มที่จะพิมพ์งานใน Google Drive แล้ว ปรากฏว่าไม่พบฟอนต์ TH SarabunPSK  ขั้นตอนก็คือ ให้ไปที่คำสั่ง "ไฟล์" (File) ที่อยู่ทางด้าน มุมบนซ้ายมือ  แล้วจากนั้นเลือก "ภาษา" (Language)  และเลือก "ไทย"  เท่านี้ก็สามารถเปลื่ยนมาใช้ Font TH SarabunPSK  ได้แล

Google Drive สามารถใช้ฟอนต์ TH Sarabun ได้แล้ว

รูปภาพ
        คงทราบกันดีว่า Google Drive นั่นก็คือ Office ในรูปแบบของ Google ซึ่งประกอบไปด้วย Google Docs, Spreadsheet, Presentation, Form และ Drawing โดยใช้งาน Online ผ่านระบบ Cloud ที่สะดวกต่อการทำงานได้ทุกทีและทุกอุปกรณ์การใช้งาน และที่สำคัญคุณยังสามารถพิมพ์งานไปพร้อมๆ กันกับเพื่อนของคุณได้อีกด้วย (Collaborate) ขอให้คุณมี Google Account เพียงอย่างเดียวก็พอ        และข่าวดีก็คือทาง Google Thailand ได้บรรจุฟอนต์ TH SarabunPSK ลงไปใน Google Drive แล้ว ซึ่งเป็นฟอนต์ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เพื่องานเอกสารทางการ ดังนั้นเราจึงสามารถพิมพ์งานเอกสารที่เป็นทางการผ่าน Google Drive ได้เลย และสามารถพิมพ์งานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย  ลักษณะฟอนต์ TH SarabunPSK TH SarabunPSK โผล่ที่ Google Drive แล้ว :)        ปัญหาที่ได้พบก็คือ ถ้าหากผู้ใช้นั้นตั้งค่าภาษา(รวมถึงคำสั่งต่างๆ)ของ Google Drive เป็นภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ จะทำให้เราไม่สามารถใช้ Font TH Sarabun ได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเปลี่ยนการตั้งค่า (setting) ใน Google Drive ของเราให้เป็นภาษาไทยเสียก่อน จึงจะสามารถใช้ TH Sarabun

ภาษาอังกฤษ กับ มะปราง

รูปภาพ
"มะปราง" ภาษาอังกฤษคือ "Marian Plum" หรือ "Plum Mango" หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ "Gandaria" ระหว่างมะปรางสุกกับมะปรางดิบ คำว่าสุก ใช้คำว่า ripe (adj) =   developed to the point of readiness for harvesting and eating. ส่วนคำว่าดิบ สำหรับผลไม้แล้วเรามักจะใช้คำว่า green มากกว่านะครับ เพราะส่วนมากผลไม้ใดๆ ก็ตามที่ยังไม่สุกมักจะมีสีเขียว  ส่วนคำว่า raw (adj) = uncooked (ดิบ) จะใช้กับอาหารที่สามารถปรุงสุกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกเนื้อมากกว่า เพิ่มเติมสำหรับความรู้ภาษาอาเซียนที่ใช้เรียกชื่อมะปราง ที่มาจาก wikipedia.org  Thailand  - Maprang Indonesia - Ramania และ Gandaria Myanmar - Mayun-Thee Malaysia - Kundan, Rembunia และ Setar

TOO GOOD TO BE TRUE

รูปภาพ
Photo :  lbsmsp (Mike Park) Source : Coconuts Bangkok    Too-good-to-be-true (adj) = ดีเกินความเป็นจริง การที่ใช้เครื่องหมาย (-) หรือเรียกว่า hyphen (อ่านว่า ไฮ-เฟิน) นั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคำทั้งหมดนี้เป้น adjective โดยจากเนื้อหาข่าวจะกล่าวถึง "too-good-to-be-true applicants" ซึ่งจะเห็นว่าใช้ขยายคำว่า applicants (n) = ผู้สมัคร ความหมายโดยรวมก็คือ "ผู้สมัครที่ดีเกินความจริง" พูดง่ายๆ แบบบ้านเราก็คือ "ผู้สมัครที่เวอร์" นั่นเอง หัวข้อของบทความคือ  Higher Education : American University rejects a quarter of Thai students' applicantions ซึ่งบทความนี้กล่าวถึงมหาวิทยาลัย (Higher Education = การศึกษาระดับสูง) ในสหรัฐอเมริกานั้นถอด (reject = ปฏิเสธ) ใบสมัครส่วนหนึ่ง (quarter = หนึ่งส่วนสี่) ของผู้ที่สมัครเป็นนักศึกษาที่เป็นคนไทย นักเรียนลองอ่านดูนะครับว่าเค้าเขียนคุณสมบัติแบบ too-good-to-be-true กันเวอร์ขนาดไหน แล้วก็อย่าไปทำตามล่ะ ถ้าพูดอะไรก็ต้องทำได้อย่างงั้นจริงๆ ไม่ต้อง fake ข้อมูล แบบนั้นฝรั่งเค้าไม่ชอบครับ

#นักศึกษาสะพายย่าม

รูปภาพ
การที่ผมเป็น # นักศึกษาสะพายย่าม นั้นเป็นการลดความโอหังของคำว่า "นักศึกษามหาลัยชั้นนำ" ลงไป  ลดความจองหองที่ว่า "ฉันเรียนเอกภาษาอังกฤษ" ลงไป พูดง่ายๆ คือลด "ego" ของตัวเองลงไป  เพราะ # ฉันรักความเท่าเทียมกัน หลายๆ คนมักจะเข้าใจว่าผมเรียนเอกอื่นๆ เพราะผมไม่ได้ทำตัวหรูหรา ผมเริ่มต้นความเป็นนักศึกษาด้วยการ "ติดดิน" เช่น เดินไปเรียนหนังสือ จากหลัง ม. ไปหน้า ม. เหนื่อยแต่คุ้มที่ได้มองธรรมชาติไปรอบๆ (เพราะรถม่วงเต็มอยู่บ่อยๆ จึงเลือกที่จะเดินสะดวกกว่า ไม่ต้องรอ) อยู่หอพักนักศึกษา สภาพโทรมๆ เก่าๆ แต่อบอุ่น เต็มไปด้วยมิตรภาพ (และเรื่องผี) โน๊ตบุ๊คไม่มี เพราะมหาลัยมีคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ลิขสิทธิ์บริการที่ดีอยู่แล้ว ทำงาน ช่วยเหลือบุคลลากรในคณะ ได้ชั่วโมงละ 25 บาท เป็นการหาเงินก้อนน้อยๆ ครั้งแรกในชีวิต ออกค่าย เพราะไปเรียนรู้ทักษะความอดทน ในยามยากลำบาก  นอกจาก "ติดดิน" แล้วยัง "อู้กำเมืองแหลวเล๊ด" อีกต่างหาก ผมจึงมีเพื่อนจากหลายๆ สาขา ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มเพื่อนเมเจอร์ เพื่อนโรงเรียน หรือว่าเพื่อนจ

Happy New Year 2014 !!!

รูปภาพ
      Wish you have a good time, good heath,  good friends,  good love and good luck.              Your new and better life is up to your own design and decision. From Ongkarn Chomvisarutkul (Kru JOJO) ******************************** The abbreviation of ส.ค.ส is "ส่งความสุข" which means "sending the happiness".  We always write the words on the New Year Card.

Every day กับ Everyday ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
ความแตกต่างระหว่าง  Every day กับ  Everyday "I read the newspaper  every day ,  but it mostly filled with  everyday  stories." ทั้งสองคำนี้ ดูผิวเผินอาจจะคิดว่าเหมือนกัน จริงๆ แล้วมีความหมาย และ การใช้ที่แตกต่างกัน Every day แบ่งเป็นคำ 2 คำ คือ         every ที่เป็น adjective ขยาย noun ก็คือ  day นั่นเอง        อย่างไรก็ดี  every day   นั้นเป็น Adverb of Frequency          เพื่อบอกความถี่หรือความบ่อย  จึงหมายความว่า  ทุกๆ วัน   (ของแต่ละวัน;  each day ) ถ้าหากต้องการตรวจสอบว่าใช้ถูกหรือไม่ ให้เราใช้คำว่า each day แทน every day ก็จะมีความหมายที่คล้ายกัน ดังตัวอย่าง I read books every day .     =   I read books each day . ฉันอ่านหนังสือ ทุกๆ วัน                                                           ฉันอ่านหนังสือ ในแต่ละวัน Every day I'm very happy  =   Each day I'm very happy. ทุกๆ วัน ฉันมีความสุขมาก                                                       ในแต่ละวัน ฉันมีความสุขมาก Everyday เป็น 1 คำ เป็น  adjective        ความห