บทความ

Congratulation VS Congratulations ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
คำว่า Congratulation กับ Congratulations แตกต่างกันอย่างไร ช่างสับสนกันเหลือเกินครับ บ้างก็ว่าเติม -s บ้างก็บอกไม่เติมก็ได้ ???  ทีนี้เรามาดูความหมายของคำทั้ง 2 คร่าวๆ ดังนี้นะครับ  Congratulation (n.) The act of expressing joy or acknowledgment, as for the achievement or good fortune of another. An expression of such joy or acknowledgment. Often used in the plural. (From  http://www.thefreedictionary.com ) Congratulations (pl. n.) expressions of pleasure or joy; felicitations (From  http://www.thefreedictionary.com ) used when you want to congratulate somebody (From Besta Advanced Learner E-Dictionary) สรุปได้ว่าคำว่า Congratulation เป็น "the act"   of expressing joy or acknowledgement   คือการกระทำเพื่อแสดงความยินดี ส่วน Congratulation s ที่เป็นพหูพจน์ เป็น   the actual  "expressions" of pleasure,   approval or commendation   คือ การการพูดเพื่อแสดงความยินดี ที่มักจะใช้กันครับ และด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง การแสดงความยินดีก็คือ การให้พร

ยกเลิก "เกรียน" เปลี่ยนเป็น "รองทรง"

รูปภาพ
              นับว่าเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียวสำหรับการยกเลิกบังคับทรงผมเกรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ของไทย ซึ่งประกาศโดย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามกระแสไปต่างๆ นานา ทั้งเชิงลบและเชิงบวก  ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกที่มีคนคัดค้านกับการประกาศปรับปรุงกฏหมายของทรงผมนักเรียนเช่นนี้ ทั้งๆ ที่มันแทบจะไม่เป็นประเด็นของการศึกษาเลยด้วยซ้ำ มันเป็นประเด็นของสิทธิที่นักเรียนสามารถเลือกทรงผมได้ แต่ก็เป็นสิทธิที่ยังคงมีขอบเขตจำกัดอยู่เช่นกัน  ซึ่ง รมต.ศึกษาธิการได้กล่าว่า  " ถ้าตีความตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 นั้น นักเรียนชายจะต้องไว้ผมด้านข้างและด้านหลังเกรียน แต่กฎกระทรวง พ.ศ.2518 เปลี่ยนแปลงให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงได้ ไม่ต้องตัดผมด้านข้างหรือด้านหลังจนเกรียน แต่ในทางปฏิบัติ ร.ร.ยังคงยึดติดกับทรงผมเกรียนตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกฎกระทรวงฉบับใหม่เปิดโอกาสให้เด็กไว้ทรงยามแบบรองทรงได้"   ทีนี้เรามาดูกฏกระทรวงทั้ง 2 ฉบับที่ว่ากันดีกว่า (แบบย่อ)  กฎกระท รวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) กล่าวไว้ว่าดังนี้ : ข้

MODAL VERBS

รูปภาพ
Modal Verb     =   กลุ่มคำกริยาช่วยที่พิเศษ (special auxiliary verb)                          ที่มีความหมายในตัวของมันเอง (ขอเรียกสั้นๆ ว่า Modal แล้วกันนะครับ)        ปกติแล้วหน้าที่ของ กริยาช่วย  (Auxiliary) คือ สามารถทำให้เป็นประโยคปฏฺิเสธ หรือ คำถามได้ หรือทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ด้านไวยากรณ์ (เช่น have/has + V3 หรือ is/am/are + Ving เป็นต้น) แต่โดยทั่วไปแล้วจะ ไม่มีความหมายในตัวของมัน Modal นั้นทำหน้าที่คล้ายกับกับ Auxiliary แต่ว่าตัวของ modal นั้น มีความหมายทุกคำ แตกต่างกันไป ซึ่ง โครงสร้าง ก็ง่ายมากครับ [[[ MODAL + V infinitive ]]] ดังนั้นไม่ต้องใส่ใจเลยว่าประธาน (subject) ของประโยคจะเป็นเอกพจน์? พหูพจน์? ใส่   *V1เพียวๆ ลูกเดียวเลยครับ .. อิอิ ทีนี้เรามาดูกันก่อนซิครับว่าคำไหนบ้างที่เป็น modal verbs can      could      may      might       will      would      shall        should       must  โดย กฏกติกา การใช้ modal มีอยู่เล็กน้อยนะครับ ดังนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Modal + V infinitive  ... ขอเรียกง่ายๆ ว่า "V1เพียว"  นั่นก็ค

USED TO กับ GET USED TO

รูปภาพ
'SOMEBODY THAT I USED TO KNOW' คำว่า 'used to' เป็น modal verb ชนิดหนึ่ง ที่ตามด้วย Verb Infinitive (v1 เพียวๆ) เสมอ ความหมายของ 'used to' = เคย .. Somebody that I used to know = ใครซักคนที่ฉันเคยรู้จัก คราวนี้พูดถึงคำว่า 'get used to' บ้างนะครับ สำนวน 'get used to' ไม่ใช่ modal verb นะครับ แต่เป็น verb phrase (กริยาวลี) get used to มีความหมายว่า = 'เคยชิน' โดยมีรูปแบบคือ 'get used to + '(N หรือ Gerund)' ** โดยปกติ to + Verb infinitive เสมอ แต่กรณีนี้พิเศษครับเพราะตามด้วย Gerund จึงมักจะเห็นตามด้วย Ving ดูตัวอย่างประโยคจากคลิปได้เลยนะครับ :) บทความที่เกี่ยวข้อง Modal Verbs

ใช้เครื่องหมาย / (ทับ หรือ slash) ใน Excel อย่างไร

รูปภาพ
สำหรับครูที่ต้องการจะพิมพ์ห้องตามรายชื่อนักเรียนในโปรแกรม Excel นะครับ พอพิมพ์ 5/5 ทีไร ออกมาเป็น 5-พ.ค. ซะงั้น ??? สำหรับครูที่มีประสบการณ์ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับครูมือใหม่หัดทำเอกสาร อาจจะลืมสิ่งที่ร่ำเรียนมาไปแล้ว (หรือบางทีอาจารย์ก็ไม่ได้สอน) เพราะด้วย excel มีสูตรเยอะแยะมากมายเหลือเกินครับ จนน่าเวียนหัว ??? แต่งานนี้ไม่เกี่ยวกับสูตรครับ เราจะทำอย่างไรให้ช่องที่เราจะพิมพ์เลขห้องเรียนของนักเรียน เป็นงานพิมพ์ธรรมดา ๆ แบบไร้สูตร   J ครูโจโจ้จะขอใช้ Microsoft Office Excel 2007 เพื่อเป็นตัวอย่างสาธิตบอกวิธีทำนะครับ หรือนักเรียนจะทำไปใช้พิมพ์รายชื่อเพื่อนร่วมชั้นแต่ละห้องเก็บไว้ก็เรียนรู้ได้ครับ ทีนี้เรามาดูกันครับ ถ้าหากว่าเราจะพิมพ์รายชื่อนักเรียนเอาไว้ลงคะแนน หรือ เช็คชื่อ เป็นต้นพอพิมพ์ห้องนักเรียนเป็น 5/5 ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง ขณะที่พิมพ์ 5/5 ผลปรากฏว่ามันไปตรงกับสูตรปฏิทิน (calendar) ซะงั้น ก็เลยออกมาอย่างที่เห็น แต่พอกด enter แล้วผลกลับออกมาอย่างที่เห็น เริ่มจากเราจะมาทำให้มันไม่เป็นสูตรปฏิทิน (function calendar) คือเราต้องแก้ที่

หนีร้อน ไปพึ่งเย็น .. ไม่ต้องเปลืองตังค์

รูปภาพ
ร้อน ๆ แบบนี้ทำไงดีเนี่ย ..  จะเปิดแอร์ ค่าไฟคงบานน่าดู  อยู่บ้านเฉยๆ มันก็ร้อนนน .. จะบ้าตายย   SUMMER นี้ มองไปทางไหนๆ มันก็ร้อนไปหมด ..  พอเอาหูไปฟังใครๆ ก็มีแต่คนบ่นว่า "ปีนี้มันร้อนกว่าทุกๆ ปีเลย เห้อ.."   เพราะเดือนเมษายนก็นับว่าเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดอยู่แล้ว หนำซ้ำช่วงสัปดาห์นี้ยังเป็นช่วงที่พระอาทิตย์โคจรมาตั้งฉากและใกล้กับกรุงเทพฯ มากที่สุด (ในวันที่ 27 เม.ย. 55)    แต่ทางผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศก็กล่าวว่าวันที่ร้อนที่สุด เป็นวันเสาร์-อาทิตย์นี้ต่างหาก (28 - 29 เม.ย. 55)      .. ตายกันพอดีล่ะเจ้าข้าเอ้ยย .. ยิ่งมีข่าวแผ่นดินไหว .. แผ่นดินลุกเป็นไฟ แบบนี้ยิ่งร้อนใจกันไปใหญ่ หวั่นๆ เกิดอาเพศ .. (คิดไปเองกันทั้งน้านน)  กะไรก็ตาม .. จะเปิดแอร์เย็นฉ่ำทั้งคืนทั้งวันที่บ้าน เห็นทีค่าไฟที่บ้านตอนสิ้นเดือนคงอ่วมอรทัยกันเป็นแน่แท้ ก็เพราะไอ้เรามันไม่ใช่คนมีกะตังค์อย่างกะเขา เปิดแอร์เย็นฉ่ำไป .. แต่ค่าไฟยามสิ้นเดือนมันร้อนจนตัวข้านี้จะเป็นลม .. ชะเอิงเงิย .. เอาล่ะ Summer นี้ ครูโจโจ้ขอนำเสนอ 5 วิธีหนีร้อนไปพึ่งเย็น แบบไม่ต้องไปเปลืองสะตุ้งสะ

วันเมษาหน้าโง่ !! APRIL FOOL'S DAY

รูปภาพ
        ทุก ๆ วันที่ 1 เมษายน ของทุก ๆ ปี ภาษาอังกฤษจะเรียกวันนี้ว่า April Fool's Day ซึ่งเรียกเป็นไทยว่า "วันเมษาหน้าโง่" (อ้างอิงจาก Wikipedia) ซึ่งไม่ใช่วันหยุดแต่อย่างใด แต่เป็นวันที่ยอมรับในหลายๆ ประเทศที่จะเล่นสนุกสนานด้วยการแกล้งหยอกด้วยมุขตลก ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นการโกหกแกล้งให้คนอื่นได้ งงๆ กลายเป็นไอ้โง่ไปเลย (fool) ซึ่งวัน April Fool's Day นั้นก็มีประวัติอันเก่าแก่เช่นกัน ตั้งแต่เมื่อสมัย ค.ศ. 1582 มาแล้ว (400 กว่าปีแล้วนะเนี่ย) ประวัติและความเป็นมา จาก Wikipedia          ประเทศฝรั่งเศส  ในยุค ศตวรรษที่ 16  ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมี วันปีใหม่ ตรงกับวันที่  1 เมษายน  กระทั่งมาถึง  ค.ศ. 1582   สันตะปาปาเกรกอรีที่ 13  จึงกำหนดให้ ชาวคริสต์ ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันวันที่ 1 มกราคม  คราวนั้นสมัยก่อน ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษายน เหมือนเดิม ทำให้พวกไม่ตกยุคเย้ยหยันพวกตกยุคว่า  “หน้าโง่ ” แถมยังพยายามจะแกล้งหลอกคนกลุ่มนี้ โดยส่งข้อความไปหลอก หรือล่