บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Technology

How to create albums in LINE app

รูปภาพ
As you know, most of Thai people are using LINE application not only for chatting but working also. Ironically, email is not the first option of working technology for many Thai governmental organizations. Anyway, you are in Thailand so you better do as Thais do.    In this blog, presenting you how to create an album in LINE application instead of posting many photos, messing up the chat screen. Moreover, posting photos in LINE has limited of time for viewing. Creating albums is the best choice to keep our memories staying as long as you are using the app. Here is the how to create an album in LINE. On the chat screen, tap the three lines at the top right of the screen.  Tap the Albums. There is the blank and command "Create album" for the first time of using it. But after you creating ones, the albums will show up here. You still tap the word "Albums" to create a new one and then hit the plus button.  First appearance before creating albums

Blogger เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยได้แล้ว !!!

รูปภาพ
  บ่อยครั้งที่เราหงุดหงิดกับการจำกัดฟอนต์สไตล์ใน Blogger ยิ่งภาษาไทยแล้วไม่สามารถเปลี่ยนเป็นฟอนต์อื่น ๆ ได้เลย นอกจาก Arial  แต่ล่าสุด Blogger พัฒนาให้เราสามารถเพิ่มฟอนต์จาก Google ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนก็เหมือนกับการเพิ่มฟอนต์ในเอกสาร Google Docs มีขั้นตอนการทำอย่างไร เรามาดูกันเลยครับ 1. ที่หน้า Blogger ให้คลิกไปที่ Font Type มีไอคอนเป็นรูปตัว A อยู่ด้านบนซ้ายนะครับ 2.  เมื่อคลิกแล้วจะมีเมนูปรากฏออกมา ให้เลือกไปที่ Add more fonts เพื่อเพิ่มฟอนต์ครับ 3. จะเป็นหน้าต่างให้เราเลือกฟอนต์ (Select fonts) ให้เราคลิกไปที่ Scripts  4. เลือกภาษาไทย 5. ก็จะปรากฏเฉพาะฟอนต์ที่สามารถใช้กับภาษาไทยได้ ให้เราเลือกไปที่ชื่อฟอนต์ต่างๆ ให้มีเครื่องหมายถูกอยู่ข้างหน้า แล้วเมนูก็จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า สำหรับครูโจโจ้นั้นเลือกที่จะเพิ่มฟอนต์ภาษาไทยทั้งหมดครับ 6. จากนั้นคลิก Select ที่มุมล่างซ้าย 7. เมื่อเราคลิกไปที่ Font Type อีกครั้ง เลื่อนไปข้างล่าง จะเห็นชื่อฟอนต์ที่เราเพิ่งเลือกเข้าไปมาเพิ่มในนี้แล้วครับ เพียงเท่านี้เราก็จะมีฟอนต์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอื่น ๆ ก็มีให้เลือกมากขึ้นกว่าแต่ก่

แนะนำการออกแบบ Google Forms เพื่อสร้างแบบทดสอบ และวิธีเก็บคะแนนนักเรียน สไตล์ครูโจโจ้

รูปภาพ
ปัจจุบันมีคลิปวิดีโอสอนการสร้างแบบทดสอบ หรือ แบบฝึกหัดโดยใช้ Google Forms อยู่มากมาย ซึ่งในคลิปนี้ครูโจโจ้จึงไม่ได้มาอธิบายการสร้างแบบทดสอบอย่างละเอียด แต่เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ การออกแบบในสไตล์ของครูโจโจ้นะครับ  อย่างแรกเลย ครูโจโจ้จะแบ่งฟอร์มออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก คือ ข้อมูลของนักเรียน และ ส่วนที่สอง (หรือมากกว่านั้น) จะเป็นส่วนของแบบทดสอบ/แบบฝึกหัด นั่นเอง  การให้นักเรียนกรอกข้อมูลของนักเรียนนั้นจะช่วยให้เราสามารถจัดระบบข้อมูลเพื่อเก็บคะแนนจาก Google Sheets ได้ง่ายขึ้น  นอกจากนั้นก็จะเป็นการเล่าสไตล์การออกแบบของครูโจโจ้ในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ - การแบ่ง section เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนและแบบทดสอบ - เทคนิคการสร้างแบบทดสอบแบบ Multiple choice และการสลับตัวเลือก - เทคนิคการสร้างแบบทดสอบคำศัพท์ เติมคำ และข้อควรระวังในการเฉลย - เทคนิคการสร้างแบบทดสอบการอ่าน  - ขึ้นตอนการสร้างแบบทดสอบ Listening คร่าวๆ  - (เสริม) แล้ววิชาคำนวนทำอย่างไร? - ตกแต่ง Theme + เช็คความถูกต้องของแบบทดสอบที่ถูกต้อง - การตั้งค่าที่ก่อให้เกิดประโยชน์ - ขั้นตอนการนำคะแนนนักเรียนไปกรอกตามระบบในโรงเรียน โดยสามารเข้ารับ

การแยก Chrome แบ่งตามชื่อบัญชีเพื่อง่ายต่อการทำงานด้วย 8 ขั้นตอน

รูปภาพ
สำหรับใครที่มีชื่อบัญชี (account) 2 ชื่อบัญชี คือ บัญชีส่วนตัว (@gmail.com) กับ บัญชีองค์กร (@ชื่อองค์กร) โดยอาจจะเป็นบัญชีจาก G Suite for Education หรือ Business ซึ่งจะมีข้อจำกัดบางอย่างในการเข้าถึงการทำงาน และการที่เราใช้ Chrome เดียว แม้จะรวมชื่อบัญชีเข้าใช้ก็ตาม แต่เมื่อตั้งค่าเริ่มต้น (default) เป็นชื่อบัญชีส่วนตัว การเข้าถึงสิทธิ์บัญชี G Suite จะทำให้ติดขัด ต้องเอาชื่อบัญชีส่วนตัวออกจากระบบ (sign out) แล้วก็เข้าสู่ระบบใหม่ (sign in) ด้วยบัญชีองค์กร สลับไปสลับมาแบบนี้ ทำให้เสียเวลาและเสียอารมณ์ได้ ในบทความนี้ ครูโจโจ้จึงมาแนะนำการแยก Chrome ออกเป็นตามชื่อบัญชีไปเลย เพราะง่ายต่อการทำงานในคอมพิวเตอร์นะครับ มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้  (ท้ายบทความ มีคลิปวิดีโอแนบให้ดูด้วยครับ)  เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแบ่งการใช้งาน Chrome เพื่องานทำงานและส่วนตัวได้อย่างง่ายดายครับ สามารถเข้าชมคลิปวิดีโอจากที่แนบด้านล่างได้เลยนะครับ ครูโจโจ้

Read Along แอปฝึกอ่านภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก by Google

รูปภาพ
ว้าวว มันเยี่ยมมาก! วันนี้เจอ app ใหม่ของ Google ชื่อว่า Read Along ซึ่งเป็น app ที่ฝึกการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษจากเรื่องสั้นๆ มีภาพประกอบ เหมาะมากสำหรับเด็กไทยในทุกระดับชั้น เพราะมี level ให้เลือกตั้งแต่ 1 - 4 ซึ่ง level 1 ก็จะได้อ่านแบบ "มานีมานะของบ้านเรา" แต่เป็นรูปแบบของภาษาอังกฤษ ส่วน level 4 ก็จะเป็น long story ให้อ่านยาวๆ ระบบจะอ่านให้เราฟัง แล้วเราก็อ่านตาม หรือจะอ่านเองได้เลยก็ได้  และมีตัวเลือกให้ปิดไมค์ ดังนั้นผู้ปกครองสามารถอ่านนำจากนั้นสลับเปิดไมค์ให้บุตรหลานของท่านได้อ่านออกเสียงเพื่อให้ระบบให้คะแนนการอ่าน หากคำไหนที่เด็กอ่านไม่ถูกต้อง ระบบจะย้ำคำๆ นั้นอีกครั้งเพื่อให้เด็กอ่านตามอีกรอบ เหมาะมากสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษที่บ้านกับผู้ปกครอง และเหมาะมากที่ครูใช้เป็นสื่อการสอน เพราะในเนื้อหามีภาพประกอบที่น่ารักๆ สีสันสด มากไปกว่านั้นระบบมีให้รางวัลเป็นการเสริมแรงด้วย ทำให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะเรียน จึงอยากบอกต่อให้ลองเล่นดูครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนหรือบุตรหลานของท่านครับ ครูโจโจ้

แนะนำ Dictionary Apps ที่ครูโจโจ้ใช้

รูปภาพ
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีนั้นต้องมีอาวุธข้างกายที่สำคัญ ก็คือ Dictionary หรือพจนานุกรมนั่นเอง ซึ่งในยุคนี้ถ้าเราไม่อยากแบก dictionary เล่มหนาๆ หนักๆ เราก็สามารถใช้แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือของเราได้ง่ายๆ ทั้งนี้ทั้งน้้นเมื่อเข้าไปค้นหาคำว่า Dictionary Thai Eng ก็มีแอปมากมายให้เราได้เลือกใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนครับว่าใช้แล้วรู้สึกพึงพอใจแอปตัวไหน เพราะคนเรามีความชื่นชอบไม่เหมือนกันครับ  อย่างไรก็ดี ในบทความนี้ครูโจโจ้ก็จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ Dictionary applications ที่ใช้ในชีวิตประจำวันนะครับ เพื่อแนะนำให้รู้จักกัน ซึ่งขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า Dictionary applications ของครูโจโจ้ส่วนใหญ่นั้นซื้อมาครับ มีบ้างที่เป็นของฟรี เพราะว่าอาชีพครูสอนภาษาอังกฤษก็ต้องมี Dictionary ใช้เป็นอาวุธติดตัวเช่นกัน จึงเห็นว่ามันจำเป็นจริงๆ ก็เลยซื้อแบบ Premium เสียเลยดีกว่า เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  แอปที่ครูโจโจ้ใช้มีดังต่อไปนี้ครับ 1. LINE Dictionary (ฟรี)  แอปตัวนี้ฟรีและดีมากๆ ครับ ครูโจโจ้แนะนำเลย ทุกครั้งที่เปิดเทอมใหม่ครูโจโจ้จะแนะนำให้นักเรียนติดตั้งแอปนี้ในมือถือเป็

Wallpapers ไม่จำเจด้วย Bing ทั้งมือถือ และ คอมพิวเตอร์

รูปภาพ
สำหรับคนที่ชอบเปลี่ยน Wallpapers หน้าจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์บ่อยๆ จนไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนเป็นรูปอะไรดี วันนี้ครูโจโจ้จะมาแนะนำ Bing ซึ่งเป็น search engine ของ Microsoft ครับ แต่สามารถเปลี่ยนหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือของเราด้วยภาพธรรมชาติสวยๆ ที่คัดสรรในแต่ละวันโดยทีมงาน เราสามารถคลิกเข้าไปดูภาพพื้นหลังประจำวันของเว็บได้ที่  www.bing.com   ภาพเหล่านั้นเราสามารถตั้งค่าให้เป็นภาพหน้าจอหรือ wallpapers ได้ และเปลี่ยนรายวันโดยอัตโนมัติกันเลยทีเดียว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ครูโจโจ้จะแชร์ให้ฟังครับ โดยแย่งเป็น 2 หัวข้อคือ การติดตั้งในคอมพิวเตอร์ กับ แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ 1. การติดตั้งในคอมพิวเตอร์ ก่อนหน้านี้เราใช้โปรแกรมที่มีชื่อว่า Bing Desktop แต่ปัจจุบันนี้ทาง Microsoft ปิดให้ดาวโหลดแล้ว ซึ่งให้ใช้ Bing Wallpaper แทน เราสามารถดาวโหลดได้ที่  https://www.microsoft.com/en-us/bing/bing-wallpaper  คลิกที่ Install now เพื่อดาวโหลดโปรแกรมและติดตั้ง จะปรากฏหน้าจอตามภาพต่อไปนี้ ถ้าไม่ต้องการให้ Bing เป็นหน้าแรกของ web browsers ของเราก็เอาที่เช็คบรรทัดแรกออก และถ้าไม่ต้องการให้ Bing มาแทนที่ Google

ภาวะสับสนการใช้เทคโนโลยีของครูในโรงเรียน

รูปภาพ
ในช่วงที่เกิดการ lockdown หรือการปิดประเทศ เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 นี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสระบาด การเปิดเทอมจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 ก.ค. ก่อนหน้าที่ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศวันเปิดเทอมนั้นได้ประกาศผลักดันให้ครูไทยจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ปัญหาก็คือ ไม่ได้ระบุว่าจะใช้ออนไลน์แบบไหน โปรแกรม แอพพลิเคชั่น หรือ ซอฟแวร์อะไร แต่ละโรงเรียนจึงสรรหาระบบกันเอง และแต่ละโรงเรียนก็ใช้ระบบไม่เหมือนกัน โปรแกรมที่ใช้ก็ไม่เหมือนกัน ในทำนองเดียวกัน บางโรงเรียนยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเสียเลยด้วยซ้ำ จึงทำให้ครูผู้สอนเกิดความสับสน และบ้างก็อาจจะเครียดก็เป็นได้ สำหรับครูที่มีความชื่นชอบเทคโนโลยี เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สนุกท้าทาย เพราะเขาพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้สำหรับการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเขาศึกษาและเรียนรู้กับสื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอด แต่ก็ต้องระมัดระวัง การที่เรารู้มากและพยายามยัดเยียด หรือ นำเสนอสื่อเทคโนโลยีที่มีอยู่มากมายมาใช้นั้น มันอาจจะทำให้ครูที่ไม่มีความถนัดทางเทคโนโลยีนั้นเกิดความสับสนและเกิดความเครียดขึ้นได้ ยิ่งบางแห

การเริ่มต้นใช้งาน Google Classroom : บทที่ 3 การสั่งงานนักเรียน พร้อมทั้งการตรวจและการให้คะแนน

รูปภาพ

บันทึกบทสนทนาในหัวข้อ แนวทางการจัดการ Distance Learning ในประเทศจีนทำอย่างไร

รูปภาพ
ครูแหม่ม ครูหยาง และ ครูโจโจ้ ที่เซียเหมิน ฝุเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับครูหยาง ซึ่งเป็นครูสอนภาษาจีน เรื่องแนวทางการจัดการ Distance Learning ในประเทศจีนทำอย่างไรบ้าง ครูหยางเล่าว่าสำหรับเด็กเล็กจะเรียนผ่านโทรทัศน์เลย เพราะว่าประเทศจีนใช้หนังสือเรียนเหมือนกันทั้งประเทศ จึงเป็นการง่ายที่ส่วนกลางทำสื่อการสอนผ่านโทรทัศน์ แล้วให้ผู้ปกครองดูด้วยเพื่อควบคุม ส่วนระดับโตขึ้นมาอย่างเช่น มัธยมปลายทเขาใช้โปรแกรม DingTalk ที่คล้ายๆ กับ Google Classroom (แต่รายละเอียดลูกเล่นนี่ไม่ทราบ) สำหรับการเรียนการสอนอยู่บ้าน ส่วนเด็กเล็กจะไม่ใช้เพราะเขาไม่สามารถนั่งนิ่งๆ อยู่หน้าจอนานๆ ได้ ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งคือการสอบ ครูจีนจะให้นักเรียนทำข้อสอบเหมือนกับการสอบในห้องเรียน แต่ให้ใช้ระบบวิดีโอประชุมนักเรียนทุกคนให้ตั้งกล้อง ให้เห็นหน้า เห็นข้อสอบ แล้วทำพร้อมกัน โดยครูจะจ้องดูนักเรียนทำข้อสอบผ่านจอ เพื่อดูว่านักเรียนมีการใช้สายตาไปในทางทุจริตหรือเปล่า ครูหยางบอกว่านักเรียนก็ต้องมองที่กล้องหรือข้อสอบ ถ้ามองไปในทางอื่นก็ส่อทุจริตละ เอ้อ ฟังอันนี้แล้วก็ได้ไอเดียว่ามันง่ายดีนะ เรา

แนะนำเว็บฟรีรูปภาพที่คุณครูควรใช้

รูปภาพ
สื่อการเรียนการสอนโดยการใช้รูปภาพนับเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนสามารถจดจำเนื้อหา หรือ บทเรียนนั้นๆ ได้มากขึ้น เพราะนักเรียนสามารถได้รับประสบการณ์จากรูปภาพนั้นๆ ที่เรานำมาประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนภาษา รูปภาพสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำคำศัพท์ได้ดีกว่าการแสดงคำศัพท์เพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันการหารูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ แต่อย่างไรก็ดี เราก็ควรตระหนักเรื่องของลิขสิทธิ์ทางปัญญา แม้อาชีพครูอาจารย์จะนำรูปไปใช้เพื่อการศึกษาและไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบางรูปนั้นเราสามารถนำรูปภาพนั้นมาใช้ได้เลย บางรูปอาจจะต้องแนบเครดิต แต่บางรูปเจ้าของภาพก็ต้องการให้เราขอนุญาตก่อน ทั้งนี้ จากประสบการณ์ส่วนตัว พบว่าคนรอบข้างล้วนละเลยในเรื่องของมารยาทพื้นฐานในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคุณครูควรตระหนักและส่งต่อหลักคิดนี้ผ่านนักเรียนให้ตระหนักด้วยเช่นกัน ในบทความนี้ครูโจโจ้จึงมาแนะนำเว็บไซต์ฟรีรูปภาพที่ครูโจโจ้ใช้ ซึ่งเราสามารถนำรูปภาพสวยๆ มาใช้ประกอบสื่อการเรียนการสอนของเราได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งครูโจโจ้จะแชร์ดังต่อไปนี้ครับ Pexels  h